วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัดท้ายบทที่13

แบบฝึกหัดท้ายบทที่13
1.จริยธรรมที่มุ่งเน้นความเป็นส่วนตัว (information privacy) เกี่ยวข้องกับข้อมูลอะไรบ้าง จงยกตัวอย่าง
ประกอบ
ตอบ.   เกี่ยวข้องกับสิทธิและข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งาน เช่น พฤติกรรมการใช้งานบนอินเทอร์เน็ตของนักท่องเว็บคนหนึ่ง อาจถูกติดตามหรือเฝ้าดูกิจกรรมที่ทำอยู่เพื่อเอาข้อมูลนั้นไปใช้ประโยชน์อื่น  หรือมีการเอาฐานข้อมูลส่วนตัวรวมถึงอีเมล์ของสมาชิกผู้ใช้งานบนเครือข่ายส่งไปให้กับบริษัทผู้รับทำโฆษณาออนไลน์ เพื่อวิเคราะห์หาลูกค้ากลุ่มเป้าหมายว่าผู้ใช้รายใดเหมาะกับกลุ่มสินค้าที่จะโฆษณาประเภทไหนมากที่สุด จากนั้นจะจัดส่งโฆษณาไปให้ผ่านอีเมล์เพื่อนำเสนอขายสินค้าต่อไป
2.จริยธรรมกับกฎระเบียบเกี่ยวข้องกันอย่างไร จงอธิบาย พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ.   จริยธรรมไม่ใช่ข้อบังคับหรือกฎที่จะมีบทลงโทษตายตัว เป็นเหมือนสามัญสำนึกหรือความประพฤติปฏิบัติต่อสังคมในทางที่ดี และขึ้นอยู่กับกลุ่มสังคมหรือการยอมรับในสังคมนั้นๆเป็นหลัก  กล่าวคือจะเกี่ยวข้องกับการคิดและตัดสินใจได้เองว่าสิ่งไหน ควร-ไม่ควร ดี-ไม่ดี ถูก-ผิด เป็นต้น   ส่วนกฎระเบียบถือเป็นข้อห้าม โดยมีกรอบหรือรูปแบบที่ชี้ชัดลงไปอย่างชัดเจนหากทำผิดแล้ว อาจต้องมีบทลงโทษตามไปด้วย จริยธรรมอาจเป็นบรรทัดฐานเพื่อสร้างกฎระเบียบที่ควรประพฤติปฏิบัติในสังคมร่วมกันได้ โดยมีบทลงโทษหรือวางแนวทางไว้อย่างชัดเจน
3.จงยกตัวอย่างของอาชญากรรมคอมพิวเตอร์มาอย่างน้อย 1 ตัวอย่างพร้อมทั้งหาวิธีป้องกันและแก้ไข โดยอธิบายประกอบ
ตอบ.  ตัวอย่างเช่น การก่อกวนระบบด้วยโปรแกรมประสงค์ร้าย เช่น ไวรัสคอมพิวเตอร์  หนอนอินเทอร์เน็ต หรือการใช้สปายแวร์บางประเภทเพื่อติดตามข้อมูลของผู้ใช้ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายหรือเกิดความรำคาญในการใช้งานได้  วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือ ควรติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสไว้ในเครื่องที่ใช้งานด้วยเพื่อคอยเฝ้าระวังไวรัสพวกนั้นเข้ามาทำร้ายเครื่องของเรา
4.การหลอกลวงเหยื่อแบบ Phishing มีลักษณะอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ.  เป็นการหลอกเอาข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานที่สำคัญๆ เช่น รายละเอียดหมายเลขบัตรเครดิตชื่อผู้ใช้หรือรหัสผ่านในการทำธุรกรรมบนอินเทอร์เน็ต โดยส่งอีเมล์หลอกไปยังสมาชิกหรือผู้ใช้บริการตัวจริงเพื่อขอข้อมูลบางอย่างที่จำเป็น โดยใช้คำกล่าวอ้างที่เขียนขึ้นมาเอง พร้อมทั้งแจ้ง  URL ที่ต้องกรอกข้อมูลโดยมีปลายทางคือหน้าเว็บเพจที่ทำเลียนแบบกับระบบจริงให้เหยื่อตายใจ   เพื่อกรอกข้อมูลและหลงเชื่อในที่สุด ซึ่งจริงๆแล้วคือ URL ของผู้ไม่ประสงค์ดีที่นั่นเอง เมื่อผู้ใช้ขาดความรอบคอบและเผลอคลิกป้อนข้อมูลส่วนตัวเข้าไป เช่น หมายเลขบัตรเครดิต ข้อมูลดังกล่าวก็จะถูกเก็บไว้และเอาไปใช้ในทางที่อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อสมาชิกผู้นั้นได้
5.BSA จัดตั้งขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ใด และเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ด้านใดมากที่สุด จงอธิบาย
ตอบ.  เพื่อเป็นการควบคุมและดูแลเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์รวมถึงการทำความเข้าใจกับผู้บริโภคให้ตระหนักถึงการใช้งานของโปรแกรมที่ถูกต้องและไม่ผิดกฎหมาย เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ด้านการขโมยโปรแกรมหรือ software theft ซึ่งบริษัทใหญ่ผู้ผลิตขนาดใหญ่ได้รับความเสียหายเป็นอย่างมากจึงมีการรวมตัวขึ้นเพื่อตั้งเป็นหน่วยงานกำกับและดูแลโดยเฉพาะเรียกว่า BSA หรือ business software alliance
6.ข้อปฏิบัติที่ควรต้องทำในการป้องกันไวรัส มีอะไรบ้าง จงยกตัวอย่างมาอย่างน้อย 5 ประการ
ตอบ.  สิ่งที่ควรทำในการป้องกันไวรัส ยกตัวอย่างได้ดังนี้
            -  ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไว้ในเครื่องเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบและเฝ้าระวังไวรัสที่จะเกิดขึ้นใหม่ สามารถติดตั้งโปรแกรมเหล่านี้ไว้ได้ ซึ่งช่วยลดปัญหาต่างๆลงไปได้มากและบางตัวสามารถที่จะกำจัด หรือซ่อมแซมไฟล์ที่เสียหายได้ด้วย
            -  ไม่รับหรือเปิดอ่านไฟล์ที่แนบมากับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์จากรายชื่อคนติดต่อแปลกหน้าบางทีอาจมีไวรัสที่แพร่กระจายมาทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ด้วย ไม่ควรจะกดหรือเปิดอ่านไฟล์ที่แนบมากับจดหมาย เนื่องจากอาจเป็นโปรแกรมประสงค์ดีที่จะมาก่อกวนระบบของเราเอง หากไม่คุ้นควรลบทิ้งเสีย
            -  ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับไวรัสใหม่ๆอยู่เสมอ ในการติดตามและเฝ้าระวังเกี่ยวกับไวรัส ผู้ใช้งานควรศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับไวรัสสายพันธ์ใหม่ๆที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ เพื่อให้ทราบถึงการป้องกันและความรุนแรงของมันได้
            -  ควรดาวน์โหลดข้อมูลหรือไฟล์จากเว็บไซท์ที่น่าเชื่อถือ เนื่องจากอาจมีโปรแกรมหรือไฟล์ที่แฝงตัวในรูปของโปรแกรมประสงค์ร้ายพ่วงมาให้ใช้ด้วยนั่นเอง
            -  ไม่ควรแชร์หรือแบ่งปันไฟล์ในเครื่องให้กับผู้อื่นเกินความจำเป็น เนื่องจากอาจะเป็นช่องโหว่ให้ผู้ไม่ประสงค์ดีลักลอบเอาโปรแกรมบางอย่างมาก่อกวนได้ หากต้องการแบ่งปันหรือแชร์ไฟล์ ควรมีการกำหนดสิทธิการเข้าถึงอย่างชัดเจน
7.การสำรองข้อมูลคืออะไร สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ. การทำซ้ำข้อมูล ที่มีอยู่ในพื้นที่เก็บข้อมูล ประโยชน์คือ เราสามารถเอาข้อมูลต่างๆเหล่านั้นกลับมาใช้ได้อีกเมื่อข้อมูลต้นฉบับเกิดเสียหาย เช่น ฮาร์ดดิสก์เสียหรือถูกไวรัสคอมพิวเตอร์  หากไม่มีการสำรองข้อมูลก็จะเกิดผลเสียตามมาได้
         วิธีการสำรองข้อมูลอาจทำทั้งระบบหรือเพียงแค่บางส่วน โดยเลือกใช้โปรแกรมยูทิลิตี้บางประเภทเพื่อสำรองข้อมูลเก็บลงสื่อบางประเภท เช่น ฮาร์ดดิสก์หรือซีดีรอมทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าข้อมูลมีความสำคัญมากน้อยเพียงใด
8.การป้องกันการทำซ้ำหรือละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ควรทำอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ.  วิธีป้องกันการทำซ้ำ อาจบันทึกข้อมูลซีดีซอฟท์แวร์แบบพิเศษ ซึ่งอาจใช้การเข้ารหัสข้อมูลบางอย่างเพื่อไม่ให้สามารถทำซ้ำได้โดยง่าย มีการใช้ serial number ซึ่งเป็นอักขระที่ต้องป้อนก่อนการใช้งาน รวมถึงกำหนดสิทธิต่าง ๆ เช่น กำหนดว่าจะนำไปใช้กับคอมพิวเตอร์ได้กี่เครื่องหากเกินกว่านั้นจะไม่สามารถใช้ได้ เป็นต้น
9.แฮกเกอร์และแครกเกอร์ มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ.   แฮกเกอร์จะแอบลักลอบเข้าไปดูข้อมูลของผู้อื่น เพียงเพื่อทดสอบความรู้ของตนเองเท่านั้นโดยเจตนาแล้วไม่ได้มุ่งร้ายต่อข้อมูลแต่อย่างใด ส่วนแครกเกอร์จะมีเจตนาที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง ซึ่งจะสร้างความเสียหายที่รุนแรงกว่าแฮกเกอร์บางคนอาจเข้าไปหาจุดบกพร่องต่างๆของระบบเครือข่ายแล้วทำการแจ้งให้กับผู้ดูแลระบบด้วยว่า ระบบเครือข่ายนั้นบกพร่องและควรแก้ไขข้อมูลส่วนใดบ้าง แต่แครกเกอร์อาจนำเอาข้อมูลที่พบนั้นไปแก้ไข เพื่อจงใจให้เกิดความเสียหายโดยตรง ซึ่งถือได้ว่าเป็นกลุ่มบุคคลที่มีความร้ายแรงมากในยุคปัจจุบัน
10.ท่านคิดว่ากรณีที่มีการนำภาพลับเฉพาะของดาราและนำไปเผยแพร่บนเว็บไซท์นั้น ผู้กระทำขาด
จริยธรรมในด้านใด จงอธิบายพร้อมทั้งให้เหตุผลประกอบ
ตอบ.  ถือเป็นการกระทำที่ขาดจริยธรรมด้านความเป็นส่วนตัวได้ เนื่องจากผู้ที่โดนกระทำคือดาราถูกละเมิดสิทธิโดยตรงซึ่งผู้เสียหายอาจไม่ต้องการให้นำภาพดังกล่าวออกเผยแพร่สู่สาธารณะชนได้ แต่กลับมีบุคคลบางกลุ่มนำออกมาโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการนำเสนอข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตที่แพร่กระจายข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลเสียแก่ดาราดังกล่าวได้ซึ่งอาจนำมาสู่การฟ้องร้องและเป็นคดีความตามมาได้นั่นเอง



แบบฝึกหัดท้ายบทที่12

แบบฝึกหัดท้ายบทที่12
1.ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ที่นิยมใช้ในพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีช่องทางใดบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบมาอย่างน้อย 3 ช่องทาง
ตอบ. ช่องทางที่พบได้ในการนำมาใช้ทางการค้าแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ พอยกตัวอย่างได้ดังนี้

             - ระบบโทรศัพท์บ้าน
   ตัวอย่างที่พบเห็นมากที่สุดคือ บริการหมายเลข 1900 ขององค์การโทรศัพท์ที่ผู้ให้บริการจะแจ้งเบอร์หรือหมายเลขให้กับลูกค้าที่ต้องการเข้าร่วมกิจกรรมผ่านโทรศัพท์ได้โดยตรง                      

             - ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่   ถือว่าเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กันโดยผู้ใช้สามารถเลือกทำรายการสั่งซื้อสินค้าหรือบริการผ่านมือถือได้ด้วยตนเอง เช่น จองตั๋วภาพยนตร์หรือดาวน์โหลดริงโทนหรือโลโก้มือถือต่างๆ
             - ระบบอินเทอร์เน็ต   เป็นช่องทางการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่พบเห็นได้มากโดยเจ้าของร้านหรือบริษัท ผู้ผลิตจะทำเว็บไซท์เพื่อจำหน่ายสินค้าและให้ลูกค้าเลือกซื้อบนหน้าเว็บนั้นๆได้เลยทันทีลูกค้าสามารถทำรายการซื้อขายได้ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นต้น

2.จงบอกลักษณะโดยทั่วไปของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบ B2C พร้อมยกตัวอย่างประกอบอย่างน้อย 3 เว็บไซท์
ตอบ. ร้านค้าหรือบริษัทจะเปิดเว็บไซท์ที่มีรูปแบบร้านค้าเสมือนจริง (virtual store-front) เพื่อให้ลูกค้า เข้ามาเลือกซื้อได้ด้วยตนเองเสมือนว่าได้เดินเข้ามายังร้านค้านั้นจริงๆ เมื่อพอใจหรือเลือกสินค้า เสร็จก็สามารถชำระเงินได้ทันที โดยมากมักเป็นสินค้าประเภทการจองที่พักโรงแรม การจองตั๋ว เครื่องบินโดยสารการซื้อขายสินค้าอุปโภคบริโภคอื่นๆเป็นต้น ตัวอย่างของเว็บไซท์เหล่านี้ เช่น
             - www.kwangham.com
             - www.hammax.com,www.toesu.com
             - www.pamanthai.com
3.การประมูลสินค้าออนไลน์ จัดอยู่ในพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบใด จงให้เหตุผลประกอบ
ตอบ.   แบบผู้บริโภคกับผู้บริโภคหรือ C2C เนื่องจากเป็นการซื้อขายสินค้าที่ผู้บริโภคด้วยกันเอง นำเอาสินค้าที่ต้องการประมูลมาเสนอหรือติดต่อเพื่อทำการค้าเองโดยตรง โดยปิดประกาศประมูลสินค้ากับเว็บไซท์ผู้ให้บริการเมื่อตกลงในรายละเอียดสินค้าและวิธีการชำระเงินก็สามารถจัด ส่งของให้กับผู้ที่ชนะประมูลได้ทันที

4.วัตถุประสงค์ของ E-Government คืออะไร แตกต่างจากพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์รูปแบบอื่นอย่างไรบ้าง จงยกตัวอย่างบริการที่นักศึกษารู้จักมาอย่างน้อย 2 ตัวอย่าง
ตอบ.   รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์หรือ electronic government เป็นการบริการของภาครัฐที่นำเสนอการให้ บริการกับประชาชนผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนใช้เป็นแหล่งข้อมูลกลางสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเองไม่ได้มุ่งเน้นหรือแสวงหากำ ไรเหมือน กับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์รูปแบบอื่นๆ ที่พบเห็นโดยทั่วไป เช่น
                - ระบบประตูสู่การบริการภาครัฐหรือ TGW (Thailand gateway)
                - บริการเสียภาษีของกรมสรรพากรผ่านเว็บไซท์
                - ระบบการตรวจสอบข้อมูลการเลือกตั้ง

5.Shopping cart คืออะไร จงอธิบายลักษณะการทำงานพอสังเขป
ตอบ.    โปรแกรมบนเว็บที่เขียนขึ้นเสมือนเป็นรถเข็นสินค้าจริงที่จัดไว้ให้ลูกค้าเลือกใช้งาน หากอยากได้สินค้าชิ้นใด ลูกค้าสามารถคลิกเลือกกดปุ่มเพื่อจับใส่เข้าไปในรถเข็นนั้นได้จนกว่าจะพอใจแล้วทำการยืนยันการชำระเงินเพื่อออกจากระบบได้ เหมือนกับที่ไปเลือกซื้อสินค้าในซุปเปอร์มาร์เก็ตเมื่อเลือกและหยิบใส่รถเข็นจนพอใจแล้ว จึงค่อยมาชำระเงินตรงทางออก เป็นต้น

6.นักศึกษาคิดว่า เหตุใดจึงต้องมีการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลบัตรเครดิตที่ใช้จ่ายผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยและจะใช้วิธีอะไรได้บ้าง
ตอบ.   เนื่องจากในระหว่างการทำธุรกรรมโดยใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตบนอินเทอร์เน็ตนั้น อาจมีผู้ไม่ประสงค์ดีลักลอบเอาข้อมูลไปใช้ให้เกิดความเสียหายกับเจ้าของบัตรได้ โดยเฉพาะกับข้อมูล ที่สำคัญๆหากไม่มีการป้องกันที่ดีพอ อาจทำให้ลูกค้าไม่มั่นใจที่จะทำรายการซื้อขายผ่านเว็บไซท์นั้นๆได้ ผู้ขายหรือเจ้าของเว็บไซท์เอง จึงควรมีวิธีการป้องกันที่ดีพอโดยเลือกการเข้ารหัสข้อมูล ที่ได้รับความนิยมและน่าเชื่อถือ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและทำให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่ามีความปลอด ภัยในระดับหนึ่ง ซึ่งข้อมูลทุกอย่างที่ทำธุรกรรมจะมีการเข้ารหัสข้อมูลก่อนที่จะส่งข้อมูลไปบนอินเทอร์เน็ต ทำให้ยากต่อการแกะหรือถอดข้อมูลมากยิ่งขึ้น เป็นต้น

7.จงอธิบายลักษณะสินค้าแบบ hard goods และแบบ soft goods มาพอเข้าใจ
ตอบ.   แบบ Hard goods จะเป็นสินค้าที่สามารถจับต้องได้ และต้องจัดส่งสินค้าโดยการใช้บริการของผู้ให้บริการขนส่งไปรษณีย์หรือพัสดุ แต่สินค้าแบบ soft goods มักเป็นสินค้าที่ไม่สามารถจับต้องได้และโดยมากมักอยู่ในรูปแบบดิจิตอลเช่น เพลง ภาพยนตร์ ซอฟท์แวร์ โลโก้หรือริงโทนมือถือ เป็นต้น
8. ท่านคิดว่าบริการหลังการขาย มีความจำเป็นหรือไม่อย่างไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ.    มีความจำเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ทำให้เกิดการซื้อสินค้าหรือบริการซ้ำและแนะนำบอกต่อไปอีก มักนำไปใช้กับสินค้าที่มีการใช้งานยุ่งยาก ซับซ้อนหรือไม่สามารถเข้าใจได้ทันที โดยมีผู้ชำนาญการหรือเจ้าหน้าที่จะให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ บางบริษัทอาจมีศูนย์ช่วยเหลือลูกค้ามาช่วยในการดูแลลูกค้าหลังการขายสินค้าไปแล้ว

9.จงยกตัวอย่างวิธีการชำระเงินบนอินเทอร์เน็ต มาอย่างน้อย 2 ตัวอย่างพร้อมอธิบายประกอบ
ตอบ.    ตัวอย่างการชำระเงินบนอินเทอร์เน็ต เช่น
                - ชำระด้วยบัตรเครดิต   เป็นวิธีที่นิยมกันมากที่สุดในขณะนี้ ผู้ใช้เพียงแค่ป้อนชื่อเจ้าของบัตร หมายเลขบัตรวันหมดอายุและรหัสบัตรส่วนที่อยู่ด้านหลัง ลงในแบบฟอร์มของทางร้านค้าหรือผู้ให้ บริการรับชำระเงินบนแบบฟอร์มที่เตรียมไว้ให้ แล้วทำการยืนยันการชำระเงินก็สามารถจ่ายชำระค่าสินค้าหรือบริการได้ทันที
                - ชำระด้วยเงินสดดิจิตอล  เป็นวิธีการที่นำมาทดแทนการชำระเงินด้วยบัตรเครดิต โดยต้องจ่ายเงินจริงสำรองไปก่อน เพื่อแลกกับมูลค่าวงเงินที่จะใช้สำหรับซื้อสินค้า เมื่อต้องการจ่ายเงินก็สามารถจ่ายเงิน ตามวงเงินที่เหลือได้พอหมดก็ค่อยไปซื้อมูลค่าวงเงินนี้ใหม่

10. สินค้าประเภทซอฟต์แวร์มีวิธีการส่งมอบได้อย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ.   นิยมให้ลูกค้าทำการดาวน์โหลดได้เลย ซึ่งอาจมีการจำกัดหรือวางเงื่อนไขในการดาวน์โหลดได้เช่น จำกัดจำนวนครั้ง จำนวนวันหรือจำกัดทั้งสองรูปแบบ โดยใส่รหัสผ่านที่ได้รับจากผู้ขาย ปกติจะพยายามทำให้ขนาดไฟล์ดิจิตอลเหล่านี้มีขนาดที่เล็กลง โดยใช้โปรแกรมบีบอัดไฟล์ บางประเภทหรือปรับขนาดให้เล็กลงเมื่อเป็นไฟล์เพลงหรือไฟล์เสียง เช่น อยู่ในรูปแบบของMP3เป็นต้น นอกจากนั้นอาจให้ลูกค้าเลือกได้ว่าจะดาวน์โหลดด้วยการเชื่อมต่อด้วยความ
เร็วแบบใดเป็นต้น

แบบฝึกหัดท้ายบทที่11

แบบฝึกหัดท้ายบทที่11
1.จงยกตัวอย่างระบบสารสนเทศที่นักศึกษาพบเห็นในชีวิตประจำวันมาอย่างน้อย 5 ระบบ
ตอบ.  1.1 ระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา
          1.2 ระบบสารสนเทศเทคโนโลยีการเกษตร
          1.3 ระบบสารสนเทศทางการเเพทย์
          1.4 ระบบสารสนเทศการเงินการธนาคาร
          1.5 ระบบสารสนเทศการแสดงหุ้นของบริษัทต่างๆ
2.สื่อผสมหรือมัลติมีเดีย คืออะไร เราสามารถนำเอาสื่อผสมไปใช้ประโยชน์ด้านใดได้บ้าง จงยกตัวอย่างพร้อมอธิบายประกอบ
ตอบ.  สื่อที่ประกอบด้วยสารสนเทศที่อาจอยู่ในรูปแบบของตัวอักษร ภาพกราฟิก เสียง ภาพนิ่ง รวมถึง  ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ โดยนำมาจัดไว้รวมกันเพื่อให้เกิดความน่าสนใจกับผู้ที่เรียกใช้สื่อ สามารถนำเอาไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมาก เช่น การสร้างวิดีทัศน์เพื่อเผยแพร่ทั่วไป เป็นต้น
3.เทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร เราสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างไรบ้าง จงยกตัวอย่างพร้อมอธิบาย
ตอบ.   การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาจัดการสารสนเทศที่ต้องการ โดยอาศัยเครื่องมือทางเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีด้านเครือข่ายโทรคมนาคมและการสื่อสาร   ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศเราสามารถใช้ได้แทบจะทุกแขนง เช่น ด้านการศึกษาที่ลดปัญหาทางด้านเวลาและระยะทางในการเรียนได้ โดยจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ตามชุมชนที่อาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ ฯลฯ
4.DAISY มีประโยชน์อย่างไรบ้าง จงอธิบายพอสังเขป
ตอบ.  digital accessible information system หรือ DAISY เป็นระบบหนังสือที่มีการบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบเสียงเพื่อให้ประโยชน์สำหรับคนตาบอดสามารถอ่านหนังสือได้ โดยสามารถค้นอ่านข้อมูลในหนังสือได้อย่างรวดเร็ว หรือเลือกแบบก้าวกระโดดไปยังส่วนต่างๆของหนังสือได้ เป็นต้น
5.เครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับพระราชกรณียกิจของในหลวงและข้อมูลอื่นๆเกี่ยวกับประเทศไทยคือเครือ
ข่ายใดหน่วยงานใดที่ดูแลรับผิดชอบเครือข่ายนี้
ตอบ.  เครือข่ายกาญจนาภิเษกหรือ KPNet จะเกี่ยวข้องกับพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตลอดจนข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทย ที่ประกอบด้วยงานหลักสองส่วนคือ เครือข่ายพระราชกรณียกิจและเครือข่ายกระจายความรู้ให้กับประชาชน โดยมีศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติหรือเนคเทคเป็นผู้ดูแลและรับผิดชอบเครือข่ายนี้    
6.จงยกตัวอย่างของการประมวลผลแบบ real time มาอย่างน้อย 1 ตัวอย่างพร้อมอธิบาย
ตอบ.  การฝาก-ถอนเงินสดกับเครื่องให้บริการของธนาคารพาณิชย์ หากลูกค้าทำธุรกรรมนั้นเสร็จสิ้นยอดเงินคงเหลือต่างๆในบัญชีที่มีอยู่จะทำการปรับปรุงเป็นยอดปัจจุบันทันที
7.Knowledge-based Economy คือรูปแบบของสังคมแบบใด จงอธิบายพร้อมทั้งยกตัวอย่าง
ตอบ.  รูปแบบของสังคมที่มุ่งเน้นให้เกิดภูมิปัญญาหรือความรู้เพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศ เพื่อให้เศรษฐกิจมีความเข้มแข็งที่ยั่งยืน สามารถแข่งขันได้ในเวทีสากล ขณะเดียวกันก็เพื่อให้ประชาชนในสังคมมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความเหลื่อมล้ำน้อยที่สุด
8. ประโยชน์ของ Geographic Information System มีอะไรบ้าง
ตอบ.  ช่วยให้การจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลทางภูมิศาสตร์มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถจัดการ กำหนดข้อมูลด้านตำแหน่งที่ตั้งบนผิวโลก ที่รวบรวมจากแหล่งต่างๆ ทั้งข้อมูลพื้นที่แผนที่  รูปถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายทางดาวเทียม เพื่อนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาผังเมืองประยุกต์ใช้งานทางด้านธรณีวิทยา หรือการพยากรณ์อากาศ เป็นต้น
9.Telemedicine คืออะไร
ตอบ.  การแพทย์ทางไกล ที่นำเอาความก้าวหน้าทางด้านการสื่อสารโทรคมนาคมมาประยุกต์ใช้กับงานด้านการแพทย์โดยตรง โดยใช้การส่งสัญญาณผ่านสื่อโทรคมนาคมอันทันสมัย โดยแพทย์ต้นทางและปลายทางสามารถติดต่อกันได้ด้วยภาพเคลื่อนไหวและเสียง รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลของคนไข้ระหว่างหน่วยงานได้ เช่น ฟิล์มเอกซเรย์และสัญญาณเสียงจากเครื่องมือแพทย์ เช่น การเต้นของหัวใจเสมือนว่าคนไข้อยู่ในห้องเดียวกัน เป็นต้น

แบบฝึกหัดท้ายบทที่10

แบบฝึกหัดท้ายบทที่10
1.Internet Service Provider คืออะไร มีบทบาทเกี่ยวข้องอย่างไรกับอินเทอร์เน็ต
ตอบ. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ทำหน้าที่เสมือนเป็นประตูเปิดการเชื่อมต่อให้กับบุคคลหรือองค์กรสามารถ ใช้งานอินเทอร์ มีชื่อย่อว่า ISP โดยจะมีการเรียกเก็บค่าบริการทั้งแบบรายเดือนหรือแบบรายชั่วโมง สำหรับการเชื่อมต่อดังกล่าว ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตจำเป็นต้องเชื่อมต่อเครือข่ายของตนเองเข้ากับ ISP ก่อนทุกครั้งเมื่อต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ต
2.จงสรุปความหมายของอินเทอร์เน็ต มาพอเข้าใจ
ตอบ. อินเทอร์เน็ต คือ เครือข่ายที่มีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทั้งโลกเข้าไว้ด้วยกัน เปรียบเสมือนเครือข่ายของเครือข่ายที่มีการเชื่อมโยงทั่วถึงกันหมด นิยมใช้สำหรับการค้นหาและเผยแพร่ข้อมูลที่ต้องการปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย
3.เว็บเพจ และ เว็บไซท์ เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ. เว็บเพจ คือหน้าเอกสารที่นำเสนอบนเว็บ มักเขียนด้วยภาษาที่เขียนบนเว็บโดยเฉพาะที่เรียกว่า   HTML ซึ่งอาจจะเขียนขึ้นด้วยเครื่องมือช่วยเว็บบางตัวหรือถูกแปลงและให้แสดงผลด้วยภาษา   คอมพิวเตอร์บนเว็บบางชนิด โปรแกรมที่ช่วยเขียนได้เช่น Dreamweaver,Frontpage,Goliveเว็บไซท์ คือ แหล่งรวบรวมเอกสารเว็บเพจทั้งหลายให้รวมอยู่ในแหล่งเดียวกัน เพื่อให้ผู้ใช้งาน  สามารถเรียกค้นข้อมูลได้ อาจกล่าวได้ว่าเอกสารเว็บเพจหลายๆหน้าที่เก็บไว้รวมกันไว้ที่เดียวกัน
4.จงยกตัวอย่างของบริการบนอินเทอร์เน็ตที่นักศึกษาใช้มาอย่างน้อย 2 บริการ
ตอบ. บริการ Chat
              - เป็นบริการที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน โดยสามารถพูดคุยกันสดๆ ระหว่างคนรู้จักในหมู่เพื่อนฝูงหรือคนที่ไม่เคยรู้จักรกันมากก่อน โดยมีเพียงที่อยู่อีเมลล์ก็สามารถติดต่อกันได้แล้วสามารถรับ-ส่งไฟล์ต่างๆได้อีกด้วย โปรแกรมที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันก็คือโปรแกรม MSN
         บริการโหลดเพลงผ่านอินเทอร์เน็ต
              - สามารถหาเพลงที่เราอยากฟัง ฟังได้อย่างง่ายดาย แค่เพียงเข้าเว็บบอร์ดหรือกระทู้ที่มีการแชร์ไฟล์เพลงไว้แล้ว ก็สามารถคลิกดาวน์โหลดมาฟังได้ในทันที
5.หากต้องการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ควรทำอย่างไรบ้าง จงอธิบายพอเข้าใจ
ตอบ. ผู้ใช้งานจำเป็นต้องมีอุปกรณ์เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตเสียก่อน ที่นิยมกันเป็นอย่างมากคือผ่านอุปกรณ์ Modem ซึ่งมีอยู่หลายแบบ เช่น แบบธรรมดา แบบADSL หรือแบบไร้สายโดยต้องไป   ขอสมัครเป็นสมัครเป็นสมาชิกหรือเลือกซื้อบริการจาก ISP เสียก่อน ซึ่งอาจคิดราคาค่าบริการที่แตกต่างกันออกไป จากนั้นทำการเชื่อมต่อเข้าไปยัง ISP ปลายทางเพื่อขอให้เปิดการเชื่อมต่อจึงจะสามารถใช้งานได้    
6.Modem คืออะไร
ตอบ. อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณจากดิจิตอลในเครื่องคอมพิวเตอร์ต้นทางให้กลายเป็นสัญญาณอนาล็อก(Modulation) เพื่อวิ่งผ่านสื่อส่งข้อมูล เช่น สายโทรศัพท์ จากนั้นจะทำการแปลงสัญญาณกลับให้เป็นสัญญาณดิจิตอลแบบเดิม(demodulation)เมื่อข้อมูลถูกส่งไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทาง
7.เหตุใดจึงต้องนำเอาระบบ DNSมาใช้เพื่ออ้างอิงถึงชื่อเครื่องของคอมพิวเตอร์ที่อยู่บนเครือ
ข่ายอินเทอร์เน็ต
ตอบ. การอ้างอิงถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตอาจใช้หมายเลข IP addres เพื่ออ้างอิงได้แต่การเรียกใช้อาจทำให้ยุ่งยากเนื่องจากการจดจำหมายเลขดังกล่าวอาจไม่คุ้นหรือยากกว่าชื่อที่สามารถพิมพ์หรือระบุเป็นอักษรได้ตรงๆ Domain Name System จึงได้ถูกนำเอามาใช้สนับสนุนให้เกิดการทำงานดังกล่าว โดยจะเป็นการแปลงชื่อโดเมนที่ผู้ใช้ฟ้อนเข้ามา ให้เป็นหมายเลข IP addres ของเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น เพื่อดึงข้อมูลมาแสดงผลนั้นเอง การแปลงข้อมูลจะกระทำโดยเครื่อง DNS Server โดยตรง
8. โปรแกรมที่สามารถเปิดเรียกดูเอกสารบนเว็บได้ เราเรียกว่าโปรแกรมอะไร ให้นักศึกษา
ยกตัวอย่างมาอย่างน้อย 4 โปรแกรม
ตอบ. โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ ซึ่งสามารถเรียกดูเอกสารบนเว็บไซต์ได้ ทั้งที่อยู่ในรูปแบบของตัวอักษร ภาพ นิ่ง เสียง วิดีโอหรืออื่นๆ ผู้ใช้งานเพียงแค่พิมพ์หรือป้อนข้อมูลโดยระบุชื่อเว็บไซต์หรือ URL ที่ถูกต้อง โปรแกรมดังกล่าวก็จะนำเอาข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่นั้นมาแสดงผลให้เห็นบนจอภาพได้ ตัวอย่างโปรแกรมที่รู้จักกันดี เช่น Internet Explorer , Nescape Communication , Opera และ Plawan  เป็นต้น

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 9

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 9
1.นักศึกษาคิดว่าเหตุใดจึงต้องนำเอาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการทำงาน
ตอบ. เพื่อช่วยให้การทำงานมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น การนำเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายจึงทำให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันทำได้ง่ายมากขึ้น ผู้ใช้งานในระบบเครือข่ายสามารถ ติดต่อถึงกันได้ทันที ลดข้อจำกัดเรื่องของเวลาและสถานที่ลงไปได้  
2.ระบบเครือข่ายมีข้อดี ข้อเสียอย่างไรบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ. ข้อดีคือ สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ร่วมกันได้เช่น เครื่องพิมพ์หรือพื้นที่ในฮาร์ดดิสก์ นอกจากนั้น ไฟล์ข้อมูลที่จำเป็นก็สามารถเรียกใช้งานได้จากหลายๆ เครื่องหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันก็ทำได้โดยง่าย  ข้อเสียของระบบเครือข่ายอาจเกิดปัญหาได้เช่นกัน เช่น เรียกใช้ข้อมูลไดช้าเพราะ ข้อจำกัดของสายของเครือข่ายที่ทำได้ช้ากว่าสายต่อภายในเครื่อง และยากต่อการควบคุมดูแล  เพราะมีผู้ใช้งานหลายคนร่วมกัน ข้อมูลอาจไม่สามารถใช้งานได้ทันที หากผู้ใดผู้หนึ่งเรียกใช้ข้อมูลอยู่เป็นต้น      
3.สายเคเบิลที่ได้รับความนิยมอย่างแพรหลายมากที่สุดคือสายชนิดใด จงบอกถึงลักษณะโดยทั่ว
ไปของสายดังกล่าว
ตอบ. สายแบบ UTP หรือแบบไม่มีฉนวนหุ้ม ได้รับความนิยมมากที่สุดเพราะมีราคาถูก และติดตั้งได้ง่าย  เป็นสายขนาดเล็กคล้ายสายโทรศัพท์มี 8 เส้น ตีเกลียวกันเป็นคู่ๆ เพื่อลดสัญญานรบกวน การเดินสายต้องจากเครื่องเข้าหาอุปกรณ์รวมสายหรือ HUB เท่านั้น
4.จงอธิบายวิธีการทำงานแบบ CSMA/CD ที่ใช้ในระบบเครือข่าย มาพอเข้าใจ
ตอบ. วิธีการนี้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะคอย "ฟัง" ว่าสายว่างหรือไม่ ถ้าพบว่าสายว่างก็จะเริ่มส่งสัญญาณออกมาซึ่งถ้าสายว่างจริงข้อมูลก็จะส่งไปถึงผู้รับได้เลย แต่การเริ่มส่งสัญญาณนี้อาจเกิดขึ้น จากหลาย ๆ สถานีพร้อมกันได้ เพราะต่างคนต่าง "ฟัง" และเข้าใจว่าสายว่างพร้อมกันผลก็คือสัญญาณที่จะได้จะชนกันในสาย ทำให้ข้อมูลใช้ไม่ได้ ดังนั้นเครื่องแต่ละเครื่องจึงต้องสามารถตรวจจับ   การชนกันของข้อมูลได้ด้วย เมื่อเครื่องที่ส่งข้อมูลออกมาชนกัน ก็ให้หยุดส่งและรอโดยนับถอยหลังตามเวลาที่สุ่มขึ้นมาซึ่งจะแตกต่างกันระหว่างแต่ละเครื่อง แล้วค่อยส่งข้อมูลออกมาใหม่
5.จงสรุปความหมายของ Server และ Client มาพอเข้าใจ
ตอบ.  - Server  คือเครื่องแม่ข่ายที่ทำหน้าที่ให้บริการข้อมูลสำหรับเครื่องอื่น ๆ ที่อยู่ในเครือข่ายมักมีหน้าที่และชื่อที่เรียกแตกต่างกันแล้วแต่การให้บริการ เช่น Mail server,File server,Web server Pint server,Database server เป็นต้น
         - Client  คือเครื่องลูกข่ายที่อยู่ในระบบ มีหน้าที่ร้องขอหรือเรียกใช้บริการจากเครื่องแม่ข่ายเมื่อทำงานหรือขอข้อมูลบางอย่างนั้นเอง
6.HUB คืออะไร เอามาใช้ประโยชน์ได้อย่างไรกับระบบเครือข่าย
ตอบ. ตัวรวมสายซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นมากในการต่อ LAN โดยสามารถโยบย้ายสาย สลับเครื่องหรือ เพิ่มจำนานเครื่องได้ เนื่องจากสายทั่งหมดจากทุกเครื่องจะลากมารวมอยู่ที่เดียวกันหมด โดยเราอาจทำเป็นตู้หรือห้องเพื่อไว้เก็บสายด้วยก็ได้ อาจมีจำนวนพอร์ตเพื่อใช้สำหรับต่อสายต่างกันได้ในแต่ละตัวเช่น 5,8,10,16,24 พอร์ตหรือมากกว่านั้นเป็นต้น
7.จงยกตัวอย่างมาตรฐานของ Ethernet  ความเร็วสูงพร้อมทั้งอธิบายมาพอเข้าใจ
ตอบ. มาตรฐานของ Ethernet ความเร็วสูง มีดังต่อไปนี้
              - 1000Base-T  เป็นระบบที่พัฒนาต่อจาก Ethernet โดยใช้สายที่ดีขึ้นกว่าเดิมคือสาย UTP แบบ Category5หรือดีกว่า การต่อนั้นใช้ HUB ที่ทำมาให้รองรับความเร็ว 100 Mbps ด้วยเท่านั้น
              - Gigabit Ethernet  หรือเรียกกันเป็น 1000 Base-T (สาย UTP) หรือ 1000 Base-F (สาย Fiberoptic)สามารถส่งข้อมูลได้ในระดับความเร็ว 1000 Mbps หรือ 1 Gbps เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความร็วสูงมาก เช่น งานกราฟิก หรือใช้เชื่อมต่อตรงช่วงที่เข้าเครื่องเซิร์ฟเวอร์เพื่อสามารถรองรับงานจากเครื่องอื่นได้มากพร้อมกัน
              - 10 Gigabit Ethernet เป็นเทคโนโลยีที่สามารถรับส่งข้อมูลได้เร็วกว่าแบบอื่น ๆ คือทำได้ถึง 10000 Mbps หรือ10 Gbps นิยมใช้สำหรับเชื่อมต่อกับหน่วยงานขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันระหว่างเมืองหรือWAN เป็นต้น
8. จงบอกลักษณะโดยทั่วไปของสายโคแอกเชี่ยล
ตอบ. สายเส้นเดี่ยวแบบที่มีเปลือกเป็นสายโลหะถัก (Shield) เพื่อป้องกันคลื่นรบกวน โดยมักใช้กับเครือข่ายแบบ Ethernet ดั้งเดิมซึ่งสามารถใช้ต่อเชื่อมระหว่างแต่ละเครื่องโดยตรงในลักษณะที่ไม่ต้องมีอุปกรณ์รวมสายเข้ามาช่วย ปัจจุบันเริ่มใช้กันน้อยลงเพราะถูกทดแทนด้วยสายแบบอื่นที่มีราคาถูกและทำความเร็วได้ดีกว่า
9.จงบอกถึงหน้าที่หลักของอุปกรณ์ Route
ตอบ. Router จะทำงานเสมือนเป็นเครื่องหรือ node หนึ่งใน LAN ที่รับข้อมูลเข้ามาแล้วส่งต่อไปยังปลายทางที่ต้องการ หน้าที่หลักของ Router คือหาเส้นทางที่ดีที่สุดในการส่งต่อข้อมูลต่อไปยังเครือข่ายอื่นซึ่งอาจใช้สื่อสัญญาณหลายแบบแตกต่างกันได้ โดยมีการแปลงหรือจัดรูปแบบข้อมูลตามแบบ

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 8

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 8
1.  ผังงาน (flowchart) คืออะไร
ตอบ. ผังงาน (Flowchart) คือ รูปภาพ (Image) หรือสัญลักษณ์(Symbol) ที่ใช้เขียนแทนขั้นตอน คำอธิบาย ข้อความ หรือคำพูด ที่ใช้ในอัลกอริทึม (Algorithm) เพราะการนำเสนอขั้นตอนของงานให้เข้าใจตรงกัน ระหว่างผู้เกี่ยวข้อง ด้วยคำพูด หรือข้อความทำได้ยากกว่า
2. อธิบายรูปแบบผังงานแบบเรียงลำดับ (sequence) แบบมีเงื่อนไข (decision) และแบบทำซ้ำ (loop)
ตอบ. 1)การทำงานแบบตามลำดับ(Sequence) คือ การเขียนให้ทำงานจากบนลงล่าง เขียนคำสั่งเป็นบรรทัด และทำทีละบรรทัดจากบรรทัดบนสุดลงไปจนถึงบรรทัดล่างสุด สมมติให้มีการทำงาน 3 กระบวนการคือ อ่านข้อมูล คำนวณ และพิมพ์ จะเขียนเป็นผังงาน(Flowchart) ในแบบตามลำดับได้       
         2)การเลือกกระทำตามเงื่อนไข(Decision) คือ การเขียนโปรแกรมเพื่อนำค่าไปเลือกกระทำ โดยปกติจะมีเหตุการณ์ให้ทำ 2 กระบวนการ คือเงื่อนไขเป็นจริงจะกระทำกระบวนการหนึ่ง และเป็นเท็จจะกระทำอีกกระบวนการหนึ่ง แต่ถ้าซับซ้อนมากขึ้น จะต้องใช้เงื่อนไขหลายชั้น เช่นการตัดเกรดนักศึกษา เป็นต้น ตัวอย่างผังงานนี้ จะแสดงผลการเลือกอย่างง่าย เพื่อกระทำกระบวนการเพียงกระบวนการเดียว
     3) การทำซ้ำ (Loop) คือ การทำกระบวนการหนึ่งหลายครั้ง โดยมีเงื่อนไขในการควบคุม หมายถึงการทำซ้ำเป็นหลักการที่ทำความเข้าใจได้ยากกว่า 2 รูปแบบแรก เพราะการเขียนโปรแกรมแต่ละภาษา จะไม่แสดงภาพอย่างชัดเจนเหมือนการเขียนผังงาน(Flowchart) ผู้เขียนโปรแกรมต้องจินตนาการ ถึงรูปแบบการทำงาน และใช้คำสั่งควบคุมด้วยตนเอง ตัวอย่างผังงานที่นำมาแสดงนี้เป็นการแสดงคำสั่งทำซ้ำ(do while) ซึ่งหมายถึงการทำซ้ำในขณะที่เป็นจริง และเลิกการทำซ้ำเมื่อเงื่อนไขเป็นเท็จ

3. ขั้นตอนการทำงานซ้ำแบบ while…do และ do…until ต่างกันอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ.  while...do เป็นโครงสร้างที่มีการทดสอบเงื่อนไขก่อน ถ้าเงื่อนไขเป็นจริงก็จะเข้ามาทำงานในกลุ่มคำสั่งที่ต้องทำซ้ำ ซึ่งเรียกว่าการเข้าลูป หลังจากนั้นก็จะย้อนกลับไปตรวจสอบเงื่อนไขใหม่อีก ถ้าเงื่อนไขยังคงเป็นจริงอยู่ ก็ยังคงต้องทำกลุ่มคำสั่งซ้ำหรือเข้าลูปต่อไปอีก จนกระทั่งเงื่อนไขเป็นเท็จ ก็จะออกจากลูปไปทำคำสั่งถัดไปที่อยู่ถัดจาก DO WHILE หรืออาจเป็นการจบการทำงาน
        ส่วน do…until เป็นโครงสร้างการทำงานแบบทำงานซ้ำเช่นกัน แต่มีการทำงานที่แตกต่างจาก DO WHILE คือจะมีการเข้าทำงานกลุ่มคำสั่งที่อยู่ภายในลูปก่อนอย่างน้อย 1 ครั้ง แล้วจึงจะไปทดสอบเงื่อนไข ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จก็จะมีการเข้าทำกลุ่มคำสั่งที่ต้องทำซ้ำอีก หลังจากนั้นก็จะย้อนกลับไปตรวจสอบเงื่อนไขใหม่อีก ถ้าเงื่อนไขยังคงเป็นเท็จอยู่ ก็ยังต้องทำกลุ่มคำสั่งซ้ำหรือเข้าลูปต่อไปอีก จนกระทั่งเงื่อนไขเป็นจริง จึงจะออกจากลูปไปทำคำสั่งถัดจาก UNTIL หรืออาจเป็นการจบการทำงาน

4.จงบอกประโยชน์ของผังงาน
ตอบ.
1.) ทำให้มองเห็นรูปแบบของงานได้ทั้งหมด โดยใช้เวลาไม่มาก
         
 2.) การเขียนผังงานเป็นสากลสามารถนำไปเขียนโปรแกรมได้ทุกภาษา
         
3.) สามารถตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรมได้อย่างรวดเร็ว
         
 4. )หากมีการพัฒนาระบบงานในลำดับต่อไป สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว โดยศึกษาจากผังงาน จะสามารถศึกษาได้อย่างรวดเร็ว และเข้าใจง่ายกว่าการศึกษาจากโปรแกรม

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 7

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 7
1.จงอธิบายความหมายของระบบมาพอสังเขป
ตอบ.ระบบ คือ ระเบียบเกี่ยวกับการรวมสิ่งต่างๆ ซึ่งมีลักษณะซับซ้อนให้เข้าลำดับประสานเป็นอันเดียวกันตามหลักเหตุผลทางวิชาการ หรือหมายถึงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติซึ่งมีความสัมพันธ์ ประสานเข้ากัน โดยกำหนดรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระบบ(System) คือ กระบวนการต่างๆ ที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกันและมีความสัมพันธ์กันระหว่างกระบวนการเหล่านั้น และเชื่อมต่อกันเพื่อทำงานใดงานหนึ่งให้บรรลุถึงเป้าหมายที่วางไว้ระบบ(System) คือ กลุ่มขององค์ประกอบต่างๆ ที่ทำงานร่วมกัน เพื่อจุดประสงค์อันเดียวกันและเพื่อให้เข้าใจในความหมายของคำว่าระบบที่จะต้องทำการวิเคราะห์ จึงต้องเข้าใจลักษณะของระบบก่อน
2.นักศึกษาคิดว่าระบบมีความสำคัญอย่างไร จงอธิบายพร้อมให้เหตุผลประกอบ
ตอบ.ระบบจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับส่วนย่อยหรือองค์ประกอบอื่นหลายส่วน เช่น บุคคล เครื่องคอมพิวเตอร์ วิธีการ วัสดุเครื่องมือเครื่องใช้ ฯลฯ หากไม่มีระบบในการทำงานก็จะทำให้ยุ่งยากมากขึ้นจากเดิม หรือทำไม่ได้เลย เช่น ระบบในร่างกายของเราจะต้องประกอบไปด้วยระบบเส้นประสาท ระบบขับถ่าย ระบบหายใจระบบไหลเวียนของโลหิต ฯลฯ
3.เหตุใดจึงต้องวิเคราะห์และออกแบบระบบ
ตอบ.การวิเคราะห์และออกแบบระบบมีความสำคัญ เพราะเป็นปัจจัยในการสร้างและพัฒนาระบบสารสนเทศ การวิเคราะห์ระบบเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เพราะนักวิเคราะห์ระบบต้องติดต่อกับคนหลายคน ได้รู้ถึงการจัดการและการทำงานในองค์การ ทำให้เรามีความรู้เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์หลายแบบมากขึ้น ผู้ที่สามารถวิเคราะห์ระบบได้ดี ควรมีประสบการณ์ในการเขียนโปรแกรม มีความรู้ทางด้านธุรกิจ ความรู้เกี่ยวกับระบบเครือข่ายและฐานข้อมูล ซึ่งใช้เป็นความรู้ในการออกแบบระบบที่มีความแตกต่างกันออกไปตาม สภาพงาน ดังนั้น หน้าที่ของนักวิเคราะห์ ก็คือการศึกษาระบบ แล้วให้คำแนะนำในการปรับปรุงและพัฒนาระบบนั้นจนเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งการทำงานทั้งหมดต้องมีลำดับขั้นตอนและการศึกษาวิธีการวิเคราะห์และการออกแบบระบบในแต่ละขั้นตอน ทำให้เข้าใจการวิเคราะห์ระบบนั้นๆ ดียิ่ง และสามารถออกแบบระบบใหม่โดยไม่ยากเย็นนัก โดยสามารถตัดสินใจว่า ระบบใหม่ควรใช้คอมพิวเตอร์ประเภทไหน ใช้โปรแกรมอะไร ออกแบบ Input/output อย่างไรเป็นต้น
4.นักวิเคราะห์ระบบคือใคร มีหน้าที่อะไรบ้าง
ตอบ.คือ บุคคลที่มีหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบ ซึ่งปกติแล้วนักวิเคราะห์ระบบควรจะอยู่ในทีมระบบสารสนเทศขององค์กรหรือธุรกิจนั้นๆ การที่มีนักวิเคราะห์ระบบในองค์กรนั้นเป็นการได้เปรียบ เพราะจะรู้โดยละเอียดว่า การทำงานในระบบนั้นๆเป็นอย่างไรและอะไรคือความต้องการของระบบ
5.นักวิเคราะห์ระบบที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง
ตอบ. 1.) มีความชำนาญหลากหลายในศาสตร์คอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ โปรแกรมภาษา ฮาร์ดแวร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น
2.) มีความเข้าใจในระบบธุรกิจ ระบบการเงิน และระบบการตลาด เป็นอย่างดี
3.) มีความเข้าใจในความต้องการของผู้ใช้ระบบเป็นอย่างดี
4.) ต้องเป็นนักสำรวจ ที่ช่างสังเกตในรายละเอียดในรายละเอียดต่าง ๆ ของระบบ รวมทั้งองค์ ประกอบภายนอกที่เกี่ยวข้องกับระบบ
5.) มีจรรยาบรรณต่อองค์กรที่พัฒนาระบบให้ ไม่นำข้อมูลที่ได้ซึ่งเป็นความลับขององค์กรไปเผยแพร่ภายนอกอันก่อให้ เกิดผลเสียแก่องค์กร
6.) ต้องทำงานเป็นทีมได้อย่างดี
7.)มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี เนื่องจากนักวิเคราะห์ระบบต้องมีการติดต่อประสานงานระหว่างบุคคลหลายกลุ่ม
8.) สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ด้วยตนเอง
9.) มีความสามารถในการนำเสนอข้อมูลให้ทั้งผู้บริหารระดับสูงรวมไปถึงผู้ใช้ระบบ ให้สามารถเข้าใจได้โดยง่ายและ ตรงกัน
10.) มีความสามารถในการติดต่อสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้ดี หากองค์กรนั้นสื่อสารภายในเป็นภาษาอังกฤษ
11.) สามารถทำงานภายในภาวะกดดันได้ เนื่องจากต้องทำงานกับบุคคลหลายฝ่าย
12.) เป็นนักจิตวิทยา ในการที่จะพูดคุยหรือติดต่อกับกลุ่มบุคคลหลายกลุ่มเพื่อให้
ได้ข้อมูลอย่างถูกต้อง
6.วงจรการพัฒนาระบบคืออะไร ประกอบด้วยขั้นตอนอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ. วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle : SDLC) เป็นวงจรที่แสดงถึงกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละขั้นตอน ตั้งแต่ริเริ่มจนกระทั่งสำเร็จ วงจรการพัฒนาระบบนี้จะทำให้เข้าใจถึงกิจกรรมพื้นฐานและรายละเอียดต่าง ๆ ในการพัฒนาระบบมีอยู่ด้วยกัน 7 ขั้นตอนด้วยกัน
7.การกำหนดความต้องการของผู้ใช้ (User Requirement) มีความสำคัญอย่างไร
ตอบ. 1.) ความต้องการที่เกี่ยวกับหน้าที่ของระบบ (Functional Requirement)
1.1 คำบรรยายเกี่ยวกับการประมวลผลซึ่งระบบจะต้องทำ
1.2 รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลที่จะป้อน เข้าสู่ระบบ
1.3 รายละเอียดเกี่ยวกับผลลัพธ์
1.4 รายละเอียดเกี่ยวกับเวลาที่ต้องใช้ในระบบ
1.5 รายละเอียดเกี่ยวกับการควบคุม
2.) ความต้องการที่ไม่เกี่ยวกับหน้าที่ของระบบ (Non-Functional Requirement)
แต่มีความสัมพันธ์กับหน้าที่ของระบบ ทำให้ได้มาซึ่งความต้องการที่เกี่ยวกับ
หน้าที่ของระบบ ได้แก่
2.1 เกณฑ์ในหารปฏิบัติงาน (Performance Criteria) เช่น เวลาในการตอบสนองในการแก้ไขข้อมูลในระบบ หรือ การรับข้อมูลจากระบบ
2.2 ปริมาณข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่จะต้องรวบรวม หรือเก็บไว้ในระบบ
2.3 ความปลอดภัยของระบบ
3.) ความต้องการเกี่ยวกับความสามารถในการใช้งาน (Usability Requirement)
3.1 ลักษณะผู้ใช้ที่จะใช้ระบบ
3.2 งานที่ผู้ใช้จะต้องทำ รวมทั้งเป้าหมายที่เขาจะพยายามบรรลุ
3.3 ปัจจัย หรือสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการใช้ระบบ
3.4 เกณฑ์ที่ยอมรับได้ ซึ่งผู้ใช้จะใช้ในการตัดสินเมื่อนำระบบไปใช้
8.เทคนิคการรวบรวมข้อมูล (Fact-Gathering Techniques) คืออะไร จงอธิบาย
ตอบ. คือเทคนิคที่ใช้รวบรวมข้อมูลจากเอกสารและรายงานต่างๆแผนผังองค์กร แบบสอบถาม การสังเกต รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้ใช้งานและผู้เกี่ยวข้องกับระบบ
เป็นต้น
9. Gantt Chart คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร
ตอบ. เป็นแผนภูมิแท่งชนิด Bar Chart อย่างหนึ่ง เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะต้องกระทำกับระยะเวลาหรือเวลาสำหรับการปฏิบัติงานของกิจกรรมนั้น ๆ การเขียน Gantt chart จะต้องกำหนดเวลาของแต่ละโครงงาน ซึ่งจะแสดงภาพรวมของโครงการนั้น ๆ ทำให้เข้าใจภาพรวมของระบบได้ง่ายขึ้น บุคลากรที่เกี่ยวข้องสามารถทำการตรวจสอบความก้าวหน้าในการวิเคราะห์ระบบได้ อย่างเข้าใจและรวดเร็วมากขึ้น
Gantt chart ที่สร้างในส่วนบนตามแนวนอนของตารางจะแสดงหน่วยของเวลา ไม่ว่าจะเป็นชั่วโมง วัน สัปดาห์ เดือน หรือหน่วยเวลาตามที่นักวิเคราะห์ระบบกำหนด ส่วนด้านข้างตามแนวตั้งของตาราง บรรทัดบนสุดจะเป็นชื่อโครงการ บรรทัดถัดมาจะเป็นรายละเอียดของโครงการต่าง ๆ หรือขั้นตอนของโครงการซึ่งมักตั้งชื่อง่าย ๆ ที่สามารถเข้าใจได้ว่าโครงการนั้นทำอะไร
10. Tester คือใคร มีหน้าที่อะไร
ตอบ .คือ ผู้ทดสอบระบบ ทำหน้าที่ทดสอบระบบ เมื่อได้โปรแกรมหรือระบบตามที่
พัฒนาโปรแกรมได้เขียนไว้แล้ว


แบบฝึกหัดท้ายบทที่6

แบบฝึกหัดท้ายบทที่6
1.คุณสมบัติของข้อมูลที่ดีประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบายตอบ. คุณสมบัติพื้นฐานของข้อมูลที่ดี มีดังต่อไปนี้
 ตอบ   - ความถูกต้อง  จำเป็นต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้องตรงกับความเป็นจริงหรือถูกต้องตรงกันกับแหล่งข้อมูลนั้น
           - มีความเป็นปัจจุบัน ข้อมูลที่ทันสมัยมาใช้ในการประมวลผลจะทำให้ได้ข้อมูลที่มีประโยชน์อย่างแท้จริง
           - ตรงตามความต้องการ  ข้อมูลที่ถูกต้องแต่ไม่ตรงกับความต้องการก็ถือว่าเป็นข้อมูลที่ใช้ไม่ได้
           - ความสมบูรณ์  ข้อมูลที่ดีต้องมีความครบถ้วนสมบูรณ์
           - สามารถตรวจสอบได้  ข้อมูลที่ดีควรตรวจสอบแหล่งที่มาหรือหลักฐานอ้างอิงได้
2.ไฟล์หรือแฟ้มตารางข้อมูลคืออะไร
ตอบ คือ การนำเอาข้อมูลหลายๆเรคอร์ดที่ต้องการจัดเก็บมาเรียงอยู่ในรูปแบบของแฟ้มตารางข้อมูล
         เดียวกัน      
3.ข้อมูลปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิ แตกต่างกันอย่างไร
ตอบ ข้อมูลปฐมภูมิ (primary data) เป็นข้อมูลที่มีการเก็บหรือรวบรวมก่อนครั้งแรก เพื่อนำไปประมวล
         ผลให้เกิดเป็นข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data) ในภายหลัง ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่ออีกได้
4.ในแง่ของการจัดการข้อมูลนั้น ข้อมูลมีโอกาสซ้ำกันได้หรือไม่ จะมีวิธีแก้ไขได้อย่างไร
ตอบ ข้อมูลอาจมีการซ้ำกันเกิดขึ้นได้อยู่เสมอในบางฟีลด์ เช่น ชื่อสินค้า ชื่อตัว หรือนามสกุล
         อาจมีการใช้ที่ซ้ำกันได้ การแก้ไขในเรื่องการจัดการข้อมูลคือ สร้างคีย์ฟีลด์เพื่อใช้อ้างอิง
         หรือระบุข้อมูลโดยเฉพาะ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการอ้างอิงข้อมูลที่ผิดซึ่งทำให้สะดวก
         และมีประสิทธิภาพมากกว่า คีย์ฟีลด์ในตารางแฟ้มข้อมูลจะเป็นตัวอ้างอิงหรือระบุเรคอร์ด
         ที่ต้องการได้ ปกติจะเลือกฟีลด์ที่ไม่มีข้อมูลซ้ำกันเลย เช่น ฟีลด์รหัสนักศึกษา
         ฟีลด์รหัสสินค้า เป็นต้น
5.การจัดโครงสร้างแฟ้มข้อมูลที่ง่ายและเป็นพื้นฐานมากที่สุด คือแบบใด มีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง
ตอบ   โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ โดยจะเรียงลำดับเรคอร์ดต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆการอ่าน
          หรือค้นคืนข้อมูลจะข้ามลำดับไปอ่านโดยตรงไม่ได้ เมื่อต้องการอ่านข้อมูลที่เรคอร์ดใดๆ โปรแกรม
          จะเริ่มอ่านข้อมูลตั้งแต่เรคอร์ดแรกไปเรื่อยๆจนกว่าจะพบเรคอร์ดที่ต้องการอ่าน จึงจะเรียก  
          ค้นคืนเรคอร์ดนั้นขึ้นมา             
6.โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบสุ่มสามารถทำงานได้เร็ว เป็นเพราะเหตุใด จงอธิบาย
ตอบ  การอ่านข้อมูลในเรคอร์ดใดๆสามารถเข้าถึงได้โดยตรง สามารถเลือกหรืออ่านค่าได้โดยทันที
         ซึ่งเป็นโครงสร้างที่มีในสื่อประเภทจานแม่เหล็ก เช่น ดิสก์เก็ตต์หรือฮาร์ดดิสก์
7.เหตุใดจึงต้องนำเอาระบบฐานข้อมูลมาใช้ในการทำงาน จงอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ เพื่อลดปัญหาเกี่ยวกับการทำงานที่ต่างคนต่างจัดเก็บข้อมูลแยกกันให้สามารถทำงาน
         ร่วมกันได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น โดยจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลกลาง เช่นแต่เดิมข้อมูลที่อยู่ลูกค้า
         ของฝ่ายขายและฝ่ายการเงินต่างก็แยกเก็บกันเอง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล ที่อยู่ของ
         ลูกค้า เกิดขึ้น จึงไม่รู้ว่าจะใช้ที่อยู่ใดในการติดต่อดี เพราะฝ่ายหนึ่งอาจมีการแก้ไขให้เป็น
         ค่าที่อยู่ในปัจจุบันแล้ว แต่อีกฝ่ายหนึ่งอาจไม่ทราบและไม่มีการแก้ไขใดๆ หากจะติดต่อกับ
         ลูกค้าจริงๆอาจมีปัญหาขึ้น แต่เมื่อนำเอาระบบฐานข้อมูลมาใช้ จึงช่วยลดปัญหาเหล่านี้
         ลงไปได้
8. ความซ้ำซ้อนกันของข้อมูล (data redundancy) คืออะไร จงอธิบาย
ตอบ คือการจัดเก็บข้อมูลไว้แยกกันหลายที่ ข้อมูลที่ต้องการจึงอาจมีบางส่วนที่ซ้ำกันได้
         กล่าวคือมีข้อมูลชุดเดียวกันถูกจัดเก็บใน 2 แฟ้มข้อมูลหรืออาจมากกว่านั้น ทำให้
         เปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลโดยเปล่าประโยชน์ และเมื่อใดที่มีการเปลี่ยนแปลง
         ข้อมูลในแฟ้มข้อมูลนั้น อาจจำเป็นต้องตามไปแก้ไขทุกๆแฟ้มที่จัดเก็บแยกกันอีกเพื่อ
         ให้ตรงกัน จึงทำให้เสียเวลาเป็นอย่างมาก
9.DBMS มีประโยชน์อย่างไรต่อการใช้งานฐานข้อมูล
ตอบ  เป็นเสมือนตัวกลางที่อำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งานฐานข้อมูลได้เป็นอย่างดีโดยที่ไม่จำ
         เป็นต้องทราบถึงโครงสร้างทางกายภาพของข้อมูลในระดับที่ลึกมากก็สามารถดูแลรักษา
         ฐานข้อมูลได้ รวมถึงควบคุมการเข้าถึงข้อมูลต่างๆได้ด้วยอีกทั้งยังทำให้การค้นคืนข้อมูลต่างๆ
         สามารถทำได้อย่างง่ายดาย ซึ่งมักจะมีภาษาการจัดการกับข้อมูลโดยเฉพาะเป็นของตนเอง
10.DBMS มีประโยชน์อย่างไรต่อการใช้งานฐานข้อมูล
ตอบ ระบบการจัดการฐานข้อมูลหรือ DataBase Management Systems เป็นเสมือนตัวกลางที่อำนวย
ความสะดวกให้กับผู้ใช้งานฐานข้อมูลได้เป็นอย่างดี โดยที่ไม่จำเป็นต้องทราบถึงโครงสร้างทางกายภาพ
ของข้อมูลในระดับที่ลึกมากก็สามารถดูแลรักษาฐานข้อมูลได้ รมถึงควบคุมการเข้าถึงข้อมูลต่างๆได้ด้วย
อีกทั้งยังทำให้การค้นคืนข้อมูลต่างๆสามารถทำได้อย่างง่ายดาย ซึ่งมักจะมีภาษาการจัดการกับข้อมูลโดย
เฉพาะเป็นของตนเอง
11. ภาษาที่ใช้สอบถามหรือเข้าถึงข้อมูลโดยผ่านรูปแบบการใช้คำสั่งเฉพาะ เรียกว่าภาษาอะไร จงยกตัวอย่างของคำสั่งประกอบ
ตอบ ภาษาคิวรี่เป็นภาษาที่ใช้สำหรับสอบถามหรือเข้าถึงข้อมูลฐานข้อมูลได้ ตัวอย่างของภาษาที่ได้รับ
ความนิยมมากที่สุดคือ ภาษา SQL ซึ่งเป็นคำสั่งภาษาที่นิยมใช้กันในระบบการจัดการฐานข้อมูลเชิง
สัมพันธ์ในปัจจุบันมากที่สุด ตัวอย่างของคำสั่งต่าง ๆ เช่น
- DELETE
ใช้สำหรับลบข้อมูลหรือเรคอร์ดใดๆในฐานข้อมูล
-INSERT
ใช้สำหรับเพิ่มข้อมูลหรือเรคอร์ดใดๆเข้าไปในฐานข้อมูล
- SELECT
ใช้สำหรับเลือกข้อมูลหรือเรคอร์ดใดๆที่ต้องการจากฐานข้อมูล
-UPDATE
ใช้สำหรับแก้ไขข้อมูลหรือเรคอร์ดใดๆในฐานข้อมูล
12. ความสามารถโดยทั่วไปของ DBMS มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
คุณสมบัติหรือความสามารถโดยทั่วไปของ DBMS พอสรุปได้ดังนี้
ตอบ -สร้างฐานข้อมูล
โดยปกตินั้น การออกแบบฐานข้อมูลอาจต้องมีการเก็บข้อมูลหรือขั้นตอนการทำงานของระบบที่
จะพัฒนาเสียก่อนเพื่อให้ทราบได้ว่าต้องการฐานข้อมูลอะไรบ้าง ตารางที่จัดเก็บมีกี่ตาราง จากนั้นจึงนำ
เอามาสร้างเป็นฐานข้อมูลจริงใน DBMS ทั่วโป โดยผ่านเครื่องมือที่มีอยู่ในโปรแกรมซึ่งอาศัยภาษา SQL
ในการสั่งงาน
- เพิ่ม เปลี่ยนแปลงแก้ไขและลบข้อมูล
ฐานข้อมูลที่สร้างขึ้นด้วย DBMS นั้น สามารถเพิ่มค่า เปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลต่างๆได้ทุกเมื่อ
โดยเข้าไปจัดการได้ที่ DBMS โดยตรง เช่น เพิ่มค่าเรคอร์ดบางเรคอร์ดที่ตกหล่น ลบหรือแก้ไขข้อมูลบาง
เรคอร์ดที่ต้องการ เป็นต้น
- จัดเรียงและค้นหาข้อมูล
DBMS สามารถจัดเรียงข้อมูลได้โดยง่าย ซึ่งสามารถเลือกได้ว่าจะให้จัดเรียงแบบใด เรียงข้อมูล
จากค่าน้อยไปหาค่ามากหรือเรียงตามลำดับวันเวลา เป็นต้น นอกจากนั้นยังสามารถระบุค่าเพียงบางค่า
เพื่อค้นหาข้อมูลได้โดยง่าย เช่น ป้อนอักษร A เพื่อค้นหาข้อมูลสินค้าที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษร A ได้ เป็นต้น
- สร้างรูปแบบและรายงาน
การแสดงผลบนหน้าจอ (form) และพิมพ์ผลลัพธ์รายการต่างๆออกมาเป็นรายงาน (report) เป็น
อีกคุณสมบัติหนึ่งที่ DBMS สามารถทำได้ ช่วยให้ผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูลดังกล่าว สามารถตรวจ
สอบหรือแก้ไขรายการที่มีอยู่นั้นได้โดยง่าย