วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 4

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 4
1.คีย์บอร์ดแบบเออร์โกโนมิกส์ ช่วยลดปัญหาในการทำงานกับคอมพิวเตอร์ได้อย่างไร จงยกตัวอย่างประกอบ                                                                                                                                                                  
 ตอบ. คีย์บอร์ดลักษณะดังกล่าว ถูกออกแบบมาเพื่อลดปัญหาเกี่ยวกับอาการเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อมือที่
         สัมผัสกับคีย์บอร์ดอยู่ตลอดเวลา โดยมีแป้นรองรับการพิมพ์สัมผัสที่ง่ายและเบา มีแท่นวางมือและ
         ออกแบบให้สัมพันธ์กับสรีระของแขนและมือให้ทำงานสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
2.ออปติคอลเมาส์มีหลักการทำงานแตกต่างจากเมาส์แบบทั่วไปอย่างไร                                                                                              
  ตอบ. เมาส์แบบแสงหรือออปติคอลเมาส์จะทำงานได้โดยไม่ต้องใช้ล้อหมุนเหมือนกับเมาส์แบบทั่วไปแต่จะ
         ใช้แสงส่องไปกระทบพื้นผิวด้านล่าง และมีวงจรภายในทำหน้าที่วิเคราะห์แสงสะท้อนที่เปลี่ยนไป
         เมื่อมีการเลื่อนเมาส์ จากนั้นจะแปลงทิศทางเป็นการชี้ตำแหน่งในที่ทางซึ่งปัจจุบันมีทั้งแบบต่อสาย
         และแบบไร้สาย
3.OMR คืออะไร จงอธิบายพร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบของลักษณะงานที่นำไปใช้                                                   
  ตอบ. เครื่องมือที่ใช้สำหรับอ่านหรือตรวจสอบคะแนนจากกระดาษคำตอบชนิดพิเศษ มีชื่อเต็มว่า "Optical
         Mark Reader" มักนำไปใช้กับการตรวจข้อสอบของบุคคลจำนวนมาก เข่น การสอบเอ็นทรานซ์
         การสอบวัดระดับความรู้ต่าง ๆ โดยจะทำการอ่านเครื่องหมายที่ผู้เข้าสอบได้ทำการระบายไว้ในกระ
         ดาษคำตอบที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ
4.อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ถือว่าเป็น หัวใจหลักของเครื่องพีซีทุกเครื่อง คืออุปกรณ์ใด เหตุใดจึงเรียกเช่นนั้น
ตอบ. เมนบอร์ด คืออุปกรณ์ที่เป็นเสมือนหัวใจหลักของเครื่องพีชี เนื่องจากเป็นแผงควบคุมวงจรการเชื่อม
         ต่ออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของคอมพิวเตอร์เกือบทั้งหมด จะขาดไปเสียไม่ได้ ความ -
         สามารถของเครื่องว่าจะใช้ซีพียูอะไรได้บ้าง มีประสิทธิภาพเพียงใด สามารถรองรับกับอุปกรณ์
         ใหม่ ๆ ได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับเมนบอร์ดที่เลือกใช้ทั้งสิ้น
5.หน่วยเก็บข้อมูลสำรองแบ่งได้เป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง จงยกตัวอย่างมาประเภทละ 2 รายการ                          
 ตอบ. สามารถแบ่งออกได้เป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 4 ประเภท ดังนี้
           1. แบบจานแม่เหล็ก
              เป็นอุปกรณ์สำรองข้อมูลที่เป็นลักษณะของจานแม่เหล็กสำหรับบันทึกข้อมูลไว้ภายใน [ disk ]
              ได้รับความนิยมและใช้งานมานานพอสมควร เช่น ฟล็อปปีดีสก์และฮาร์ดดิสก์
          2. แบบแสง
              เป็นสื่อเก็บข้อมูลสำรองที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน โดยใช้หลักการทำงานของแสง การจัด
              การข้อมูลจะคล้ายกับแผ่นจานแม่เหล็ก ต่างกันที่การแบ่งจะเป็นรูปก้นหอยและเริ่มเก็บบันทึก
              ข้อมูลจากส่วนด้านในออกมาด้านนอก ที่เป็นที่นิยมและรู้จักกันดี เช่น CD , DVD
          3. แบบเทป
              เป็นสื่อเก็บข้อมูลที่สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมากและเข้าถึงข้อมูลแบบเรียงลำดับต่อเนื่อง
              กันไป มีการผลิตขึ้นมาหลากหลายขนาดแตกต่างกันไป เช่น DAT และ QIC เป็นต้น
          4. แบบอื่น ๆ
              เป็นสื่อเก็บข้อมูลแบบใหม่ที่พบได้ทั่วไปในปัจจุบัน มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น Flash Drive
             Thumb Drive , Handy Drive เป็นต้น อีกชนิดคือ Memory Card เพื่อใช้เก็บข้อมูลในกล้องดิจิ-
              ตอลแบบพกพา   
6.แทรคและเซกเตอร์ในสื่อเก็บข้อมูลจานแม่เหล็กคืออะไร                                                                                           
ตอบ. พื้นที่เก็บข้อมูลบนแผ่นจานแม่เหล็ก โดยที่แทรคจะเป็นลักษณะของพื่นที่แนววงกลมรอบ ๆแผ่น
         จาน จะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดและประเภทของจานแม่เหล็กนั้นด้วย ซึ่งแผ่นแต่ล่ะแผ่นจะมี
         ความหนาแน่นของสารแม่เหล็กแตกต่างกันทำให้ปริมาณความจุจึงแตกต่างกันด้วย ส่วนเซกเตอร์
         นั้น เป็นส่วนของแทรคที่แบ่งย่อยออกมาเป็นส่วน ๆ หากเปรียบเทียบแผ่นจานเเม่เหล็กเป็นคอนโด
         มิเนียมหลังหนึ่ง แล้วเซกเตอร์ก็เปรียบเหมือนกับห้องพักที่แบ่งให้คนอยู่เป็นห้องๆ นั้นเอง
7.แผ่นดิสก์เก็ตต์แผ่นหนึ่งเก็บข้อมูลได้ 2 ด้าน แต่ละด้านมี 80 แทรค แต่ละแทรคแบ่งได้ 9 เซกเตอร์ และแต่ละเซกเตอร์สามารถเก็บข้อมูลได้มากถึง 512 ไบต์ จงคำนวณหาความจุของแผ่นนี้                                                 
  ตอบ. ความจุของแผ่นดิสก์เก็ตแผ่นนี้ สามารถคำนวณหาได้ดังนี้
         ความจุของแผ่นดิสก์เก็ต = 2 X 80 X 9 X 512 bytes
                                             = 737,280 bytes
                                             = 720 KiB (737,280/1024)
                                      หรือ = 737.28 KB (737,280/1000)
8. ดิสเก็ตต์และฮาร์ดดิสก์ มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง จงอธิบาย                                                                       
 ตอบ. ดิสเก็ตต์จะมีราคาถูกกว่ามาก แต่จะเก็บได้ไม่มากเท่ากับฮาร์ดดิสก์เพราะมีพื้นที่จานเก็บข้อมูล-
         ขนาดใหญ่กว่า ซึ่งประกอบด้วยจานหลายแผ่น ทำให้จำนวนแทรคและเซกเตอร์จึงมีมากตามไปด้วย
         สำหรับการอ่านข้อมูลนั้น หัวอ่านดิสเก็ตต์จะสัมผัสแผ่นจานทุกครั้งที่อ่าน แต่ฮาร์ดดิสก์หัวอ่านจะลอย
         อยู่เหนือแผ่นจาน ไม่มีการสัมผัสตัวแผ่นจานแต่อย่างใด
9.สื่อเก็บข้อมูลประเภท CD และ DVD มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง                                                                     
ตอบ. สื่อเก็บข้อมูลแบบ CD จะเหมาะกับการเก็บข้อมูลทั่วไป เช่น ข้อมูลไฟล์การทำงาน ข้อมูลโปรแกรม
         เพื่อใช้งาน ส่วนแบบ DVD จะมีคุณสมบัติที่ดีกว่าคือ เก็บข้อมูลได้เยอะมากยิ่งขึ้น จุได้ 17 GB จึง
         เหมาะสมกับการเก็บข้อมูลกับการเก็บข้อมูลงานทางด้าน มัลติมิเดีย เพื่อให้เกิดความสมจริงของ
         ภาพและเสียงมากที่สุด
10.เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ตและแบบเลเซอร์ แตกต่างกันอย่างไรบ้าง จงอธิบาย                                                          
ตอบ. เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ตอาศัยหลักการพิมพ์โดยใช้หมึกพ่นลงไปบนกระดาษ เหมาะกับงานพิมพ์เอก-
         สารที่ต้องการความสวยงาม ส่วนเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ราคาแพงกว่า เนื่องจากให้ความคมชัดได้
         ดีหลักการทำงานจะอาศัยแสงเลเซอร์ยิงลงไปบนกระดาษ คล้ายกับการทำงานของเครื่องถ่าย-
         เอกสาร แต่มีข้อเสียคือไม่สามารถพิมพ์เอกสารที่เป็นแบบสำเนาได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น