วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554

สรุปท้ายหน่วยที่ 6

สรุปท้ายหน่วยที่  6
เรื่อง  ข้อมูลและการจัดการข้อมูล
ข้อมูลสำหรับการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์นั้น  อาจได้มาจากแหล่งข้อมูลภายในหรือภายนอกองค์กร  ซึ่งควรมีคุณสมบัติพ้นฐานประกอบด้วย  ความถูกต้อง  มีความเป็นปัจจุบัน  ตรงตามความต้องการ  มีความสมบูรณ์และสามารถตรวจสอบได้  ทั้งนี้ในการจัดการกับข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์  จะมีการจัดแบ่งข้อมูลออกเป็นลำดับขั้นเพื่อง่ายต่อการเรียกใช้  เช่น  บิต  ไบต์  ฟีลด์  เรคอร์ด  ไฟล์
โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลที่จัดเก็บไว้บนสื่อบันทึกข้อมูลสำรองมีอยู่  3 ลักษณะคือ  แบบเรียงลำดับ  แบบสุ่มและแบบลำดับเชิงดรรชนี  การเลือกใช้ต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับงาน  สำหรับแฟ้มข้อมูลโดยทั่วไปนั้นจะแบ่งออกได้เป็น  2  ประเภท  คือ  แฟ้มหลักซึ่งเป็นแฟ้มข้อมูลที่มีความถี่ของการเปลี่ยนแปลงข้อมูลไม่บ่อยมากนัก  และอีกประเภทหนึ่งคือ  แฟ้มรายการเปลี่ยนแปลง  ซึ่งเป็นแฟ้มที่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายการข้อมูลภายในค่อนข้างบ่อยและทำแบบประจำต่อเนื่องหรือเกิดขึ้นทุกวัน
ข้อมูลจำนวนมากที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน  จะถูกเก็บรวบรวมไว้ที่เดียวกัน  เรียกว่า  ฐานข้อมูล  ซึ่งช่วยให้การประมวลผลมีความสะดวกและง่ายยิ่งขึ้น  โดยมีแนวคิดที่จะจัดการกับข้อมูลเพื่อลดความซ้ำซ้อน  ลดความขัดแย้ง  รักษาความคงสภาพ  อำนวยความสะดวกในการใช้ข้อมูลร่วมกัน  ง่ายต่อการเข้าถึงและลดระยะเวลาพัฒนาระบบงาน  เครื่องมือสำหรับการจัดการฐานข้อมูลนั้น  เรียกว่า  “DBMS”  ซึ่งเป็นเสมือนผู้จัดการฐานข้อมูลที่จะดูแลและอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้โดยไม่จำเป็นต้องทราบถึงโครงสร้างทางกายภาพของข้อมูลในระดับที่ลึกมากแต่อย่างใด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น